สินค้ารายการนี้: การศึกษา อบรม สัมมนา
FAR และ OSR คืออะไร?
FAR และ OSR เป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมืองในแต่ละพื้นที่ ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนา และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อขนาดพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และทำให้โอกาสสร้างรายได้มากขึ้นหรือน้อยลงตามข้อกำหนดนี้ ซึ่งหากเราไปซื้อที่ดิน หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สีผังเมืองที่มีข้อจำกัดทาง FAR และ OSR แล้วล่ะก็ อาจส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาให้ไม่เป็นไปตามที่คุณวาดฝันไว้ก็ได้ หรือ หากซื้อมาแล้วต้องการขายต่อก็อาจจะขายได้ยาก
FAR (Floor to Area Ratio) คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน
สูตรการคำนวณ
พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้ = ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดินเป็นตารางเมตร
ตัวอย่าง ที่ดินขนาด 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 9,600 ตารางเมตร
OSR (Open Space Ratio) คือ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม
สูตรการคำนวณ
พื้นที่เปิดโล่งบนที่ดิน = ค่า OSR x ขนาดพื้นที่ดินเป็นตารางเมตร
ตัวอย่าง ที่ดินขนาด 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด OSR = 5% เท่ากับว่า จะต้องมีพื้นที่เปิดโล่งบนที่ดินโดยไม่มีหลังคาคลุม 5% x 1,600 = 80 ตารางเมตร หมายความว่าต้องเว้นที่ว่างไว้ ไม่ใช้ก่อสร้างอาคาร 80 ตารางเมตรนั่นเอง
หากท่านใดสงสัย อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) และ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (OSR) นั้นเป็นข้อกำหนดตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 ซึ่ง ออกตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ข้อ 4
วิธีตรวจสอบข้อกำหนด FAR และ OSR ของที่ดินเรา
หลังจากรู้แล้วว่า FAR และ OSR คืออะไร และส่งผลอย่างไรต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินของเรา ทีนี้เราจะตรวจสอบได้อย่าไรล่ะว่าที่ดินของเรามี FAR และ OSR เท่าไหร่ TOOKTEE ขอแนะนำวิธีการตรวจสอบข้อกำหนด FAR และ OSR แบบง่ายๆ คู่กับการตรวจสอบสีผังเมืองบนแผนที่ TOOKTEE ง่าย ๆ แค่ 2 ขั้นตอน
ค้นหาทำเลบ้านของคุณจากชื่อซอย ชื่อเขต หรือชื่อโครงการบ้านของคุณ หรือซูมลงบนแผนที่ได้เลย ขณะนี้ TOOKTEE เปิดให้บริการตรวจสอบสีผังเมืองบนแผนที่ใน 4 พื้นที่ ดังนี้
ดูผังเมืองรวมกรุงเทพปัจจุบันได้ที่นี่ >> CLICK
ดูร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฉบับใหม่ได้ที่นี่ >> CLICK
ดูผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมและชุมชนแหลมฉบังได้ที่นี่ >> CLICK
ดูผังเมืองรวมชุมชนบางปะกงได้ที่นี่ >> CLICK
ดูผังเมืองรวมชุมชนบ้านโพธิ์ได้ที่นี่ >> CLICK
Tags : สีผังเมือง, ตรวจสอบสีผังเมือง, การใช้ประโยชน์ที่ดิน, FAR, OSR, พื้นที่อาคาร